จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กรรมจากการทำแท้ง



"กิจโฉ มนุษะ ปฏิภาโพธิ์" การเกิดเป็นมนุษย์นั้นแสนยาก

เป็นพระพุทธพจน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ในครั้งหนึ่งพระสารีบุตรเคยทูลถามพระพุทธองค์ว่า...

"การเกิดเป็นมนุษย์นั้นมีโอกาสมากน้อยเพียงใดพระเจ้าข้าฯ"

พระพุทธองค์ไม่ตรัสอะไรเลย แต่ทรงใช้นิ้วมือแตะลงบนพื้นดินแล้วชูขึ้น
ตรัสตอบกับพระสารีบุตรว่า...

"มีเพียงแค่นี้... สารีบุตร" นั้นหมายถึงสรรพสัตว์ที่ต้องไปเวียนว่ายตายเกิด

ในภพภูมิต่างๆ มีจำนวนมากเทียบเท่ากับดินทั่วไปทั่วพื้นปฐพีแต่ที่สามารถ

เกิดไปเป็นมนุษย์ได้... มีเพียงแค่ดินที่ติดปลายนิ้วของพระพุทธองค์เท่านั้น

การทำแท้ง คือ การฆ่าคน เป็นฆาตกรฆ่าลูกในไส้ของตนเอง ไม่ว่าผู้นั้นขึ้นชื่อว่าแม่หรือพ่อก็ล้วนเป็นหุ้นส่วน

กรรมมหันต์นี้ด้วยกันทั้งคู่ ไม่ต้องโยนบาปให้กันและกัน ไม่ต้องโยนผิดป้ายโทษว่าใครเป็นต้นเหตุ

สุดท้ายได้รับกรรมอย่างสาสมด้วยกันทั้งคู่ ความจริงเรื่องการทำแท้งเป็นผลสุดท้ายของความชั่ว

ที่ได้รับการไตร่ตรอง วางแผนทำลายหลักฐานการก่อความชั่ว ส่วนเหตุนั้นมาจากการที่บุคคลขาดการสำรวม

ทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม เห็นความมักมากในกามอารมณ์เป็นของสนุกอย่างไร้ยางอาย

ขาดความศรัทธาและขาดความเคารพในธรรม ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ

ความประพฤติที่ประมาทท้าทายต่อธรรม ในเกรงกลัวไม่ละอายต่อบาปใดๆ ทั้งสิ้น

ผลกรรมจากการทำแท้งพระพุทธองค์ยังได้ตรัสอีกว่า...



ผู้ที่เคยทำแท้ง ขณะมีชีวิตจะได้รับผลกรรมสนองจากโรคร้าย ป่วยหนัก   อายุสั้น
การถูกขัดขวางไม่ให้พบความเจริญ มีความฉิบหายมาสู่ตนอย่างหาสาเหตุไม่ได้...
ธรรมะอยู่ที่ ๕๐ : ๕๐




ถ้าคิดว่า “เขาทำผิด” เขาไม่ควรทำเราอย่างนี้


ให้คิดว่าเราก็ผิด ๕๐ % ด้วย


คิดอย่างนี้เราก็จะไม่โกรธเขา เพราะถ้าโกรธเขาก็ต้องโกรธตัวเราด้วย


และเขาอาจจะไม่ผิดก็ได้ เชื่อไว้ ๕๐ % ก่อน


คิดอย่างนี้เราก็ไม่ทุกข์


ใครเล่าว่า “คนนั้นเขานินทาเราอย่างนั้นอย่างนี้ คนนั้นเขาเป็นอย่างนั้นอย่างนี้”


อย่าเพิ่งเชื่อ และก็อย่าเพิ่งปฏิเสธทันที


รับฟังไว้ ๕๐ % ก่อน


อย่าวิพากษ์วิจารณ์ทันที แล้วก็เป็นทุกข์ แล้วก็ปรุงแต่งต่อไป


บ่อยๆ ครั้งเราก็จะโกรธและเสียเวลาคิด เสียอารมณ์ไปโดยเปล่าประโยชน์


อย่าไปทำตามคำพูด ความคิดของใครๆทั้งหมดทันที


ฟังแล้วทำตามเขา ๑๐๐ % ก็มักจะวุ่นบ่อยๆ


เพราะความคิดก็เป็นอนิจจัง เขา (ผู้พูด) อาจจะเปลี่ยนใจก็ได้


เราอาจฟังผิดก็ได้ เขาอาจคิดผิดและเปลี่ยนความคิดใหม่ก็ได้


ถ้าเรารับฟังไว้ ๕๐ % ก่อน


ตั้งสติของเราเข้าไว้ ก็จะปลอดภัย ไม่สับสน ไม่ทุกข์


แม้แต่ความคิดของเราเองก็อย่าเชื่อ ๑๐๐ %


รับฟังไว้ ๕๐ % ก่อน


เพราะเราก็อาจเปลี่ยนความคิดได้


ที่เราคิดว่าถูก จริงๆ อาจผิดก็ได้


ไม่แน่หรอก


สรุปว่า อย่าเชื่อทั้งตัวเรา ตัวเขา อย่าเชื่อทั้งสุข และทุกข์ ๑๐๐%


รับฟังไว้ ๕๐ % ก่อน


ไม่ต้องโกรธ ไม่ต้องตกใจ ไม่ต้องแปลกใจตั้งสติเข้าไว้ก่อน


พิจารณาให้ดีก่อน


สุขก็ไม่แน่นอน ทุกข์ก็ไม่แน่นอน


สุขหายไปก็ทุกข์ ทุกข์หายไปก็สุข


ทุกอย่างไม่แน่นอน...ก็เท่านั้นเอง




เขานินทาเรา


เขานินทาเรา เขาด่าเรา เขาแย่งของเราไป ฯลฯ


เราไม่พอใจ เรากำลังจะโกรธ ต้องรีบแก้ไขทันที


“เขา” ไม่สำคัญ สำคัญที่ใจเรากำลังจะเป็นทุกข์


เรากำลังจะผิดศีล กำลังจะผิดข้อวัตรของเรา


ระวังนะ...ถ้าเราเป็นทุกข์ เราก็ผิดข้อวัตรของเราแล้ว


ผิดศีล เราก็บาปแล้ว


เราต้องมีหิริ โอตตัปปะ ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาป


ถ้าเราเป็นทุกข์ เราผิดศีล เราก็บาป


ใครเขานินทาเราก็ไม่สำคัญเขาทำอะไรๆ เราก็ไม่สำคัญ สำคัญที่ใจเรา


สำคัญที่ใจเราอย่าเป็นทุกข์เท่านั้นก็พอแล้ว


ไม่ต้องดูใคร ไม่ต้องฟังใคร ดูกายกับใจของเรานี่แหละ


เราต้องเป็นที่พึ่งของเราเอง


อัตตาหิ อัตตโนนาโถ นะ


เราขึ้นอยู่กับคำพูดหรือการกระทำของคนอื่นไม่ได้หรอก


ระวังนะ... คนโน้นคนนี้ก็ไม่สำคัญหรอก สำคัญที่จิตของเรานี่แหละ


ใครทุกข์ก็ไม่ต้องทุกข์ตามเขา ไม่ต้องโต้ตอบ ไม่ต้องชี้แจง ไม่ต้องกลัว


สำคัญที่ใจเราอย่าเป็นทุกข์นะ


ถ้าเราทุกข์แล้วผิดแล้วนะ ไม่ใช่เขาผิดหรอก


ต้องรีบพิจารณาแก้ไขทันที






พลิกนิดเดียว แล้วอยู่อย่างมีความสุข


คนเราจะเป็นสุขหรือเป็นทุกข์อยู่ที่ความคิดนิดเดียว


พลิกนิดเดียวเราก็จะไม่เป็นทุกข์


พลิกนิดเดียวก็จะเปลี่ยนจากมิจฉาทิฏฐิมาเป็นสัมมาทิฏฐิ


จากความคิดผิดเป็นความคิดถูก


จากทางโลกมาสู่ทางธรรม


พลิกนิดเดียวเราก็จะอยู่ได้อย่างไม่มีทุกข์


อยู่กับปัจจุบันได้อย่างสงบ


ยอมรับทุกอย่างที่เกิดขึ้นแต่ละขณะอย่างสมบูรณ์การเจริญสติปัฏฐาน คือการอยู่อย่างไม่มีความทุกข์ที่จะต้องดับ (ท่อนหลังนี้ เป็นถ้อยคำสำนวนของพระเดชพระคุณพระราชวรมุนี (ปัจจุบันคือ พระ ธรรมปิฏก) ในหนังสือพุทธธรรม ซึ่งบังเอิญเป็นเรื่องเดียวกันพอดีที่ท่านอาจารย์สอนจึงกราบขอ อนุญาตคัดมาประกอบ)การเจริญสติปัฏฐาน หรือการเจริญสมาธิวิปัสสนา ก็เพื่อหัดเปลี่ยนจากการอยู่อย่างมีทุกข์เป็นพื้นฐาน มาเป็นการอยู่อย่างมีความสุขเป็นพื้นฐาน


เพียงแต่มีชีวิตอยู่กับปัจจุบันให้เต็มที่ในขณะนั้นๆ


ไม่อยู่กับอดีตบ้าง อนาคตบ้าง


รับรู้และเสวยอารมณ์แต่ละขณะอย่างเต็มบริบูรณ์


เห็นความงดงามของปัจจุบัน อย่ามัวแต่อยู่กับอดีตและอนาคต


ยอมรับทุกอย่างที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะอย่างสิ้นเชิง
วิธีถอนคำสาปแช่ง




.. มีคนจำนวนไม่น้อยมีชีวิตอยู่ด้วยความทุกข์กาย - ทุกข์ใจ บ้างก็ทุกข์เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ทุกคนมักเห็นว่าทุกข์ของตนมีมากมาย ไม่ว่าทุกข์กาย - ทุกข์ใจก็ตาม และมักคิดคล้ายๆ กันว่าทุกข์ของตนมากกว่าทุกข์ของผู้อื่น

เมื่อมีความทุกข์ก็ย่อมพยายามดิ้นรนหาวิธีพ้นทุกข์ แต่ส่วนมากจะหาวิธีหนีทุกข์ในทางที่ผิดๆ แทนที่จะลดทุกข์กลับเพิ่มทุกข์ เช่นการดื่มสุราบ้าง เล่นการพนันบ้าง จนถึงฉ้อโกงลักทรัพย์ปล้นสะดม ลืมคิดถึงเวรกรรมว่าจะต้องตอบสนองแน่นอน ไม่เร็วก็ช้าเป็นการเพิ่มทุกข์ให้สาหัสขึ้น

พุทธศาสนาสอนให้เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ว่าทำกรรมใดไว้ (ไม่ว่าดีหรือชั่ว) ก็ตาม ผลกรรมย่อมตามสนอง บ้างก็รวดเร็วทันตาเห็น บ้างก็รอคอยตามสนองไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น กรรมนั้นมีทั้ง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

มโนกรรมกับวจีกรรมเป็นสิ่งที่คนเราชอบกระทำมากที่สุด เมื่อยามโกรธเคืองหรือเจ็บแค้นใคร ไม่อาจตอบโต้ทางกายได้ก็กระทำทางวาจา เช่น แช่งด่า หรือทางใจก็นึกสาปแช่งให้คนที่ก่อกรรมให้ตน หรือทำให้ตนขุ่นเคืองต้องมีอันเป็นไปต่างๆ นานา จนถึงลงมือกระทำการจริงๆ จังๆ

เช่น เผาพริก - เผาเกลือแช่งให้มีอันเป็นไปในทางร้ายๆ จนถึงแก่ชีวิตบ้าง จ้างวานผู้ที่ตั้งตนเป็นผู้เชี่ยวชาญทางไสยศาสตร์ หรือหมอผีทำร้ายด้วยอาคม เช่น เสกตะปู เสกสายสิญจน์ แม้แต่หนังควายเข้าท้อง โดยเชื่อว่าจะได้ผลจริงๆ จังๆ
ทางธรรมะถือว่าเป็นการประสงค์ร้ายต่อผู้อื่น แม้จะเป็นเพียงความคิดก็เป็นบาปกรรมอย่างหนึ่ง จะต้องติดตามมาสนองให้ตอ้งชดใช้กรรมไม่ช้าก็เร็ว

ผู้ใดมีความทุกข์กาย - ทุกข์ใจ โดยจำไม่ได้ว่าเคยทำบาปกรรมใดไว้บ้าง หรือมั่นใจว่าไม่เคยได้กระทำไว้เลย อาจจะเป็นกรรมเก่าก็ได้ที่เคยสาปแช่งผู้อื่นไว้ก็เป็นไปได้

พระชุมพล พลปญโญ ได้เขียน "คำถอนอธิษฐานที่เป็นมิจฉาทิฐิ" ในนิตยสาร "ไตรรัตน์" ฉบับที่ ๙ ไว้ดังนี้


"อิมัง มิจฉา อะธิฎฐานัง ปัจจุทธะรามิ
ทุติยัมปิ อิมัง มิจฉา อะธิฎฐานัง ปัจจุทธะรามิ
ตะติยัมปิ อิมัง มิจฉา อะธิฎฐานัง ปัจจุธะรามิ"
ข้าพเจ้าขอถอนคำอธิษฐาน ถอนคำสาป ถอนคำแช่ง ที่ข้าพเจ้าได้ตั้งขึ้นถึงพร้อมแล้ว ด้วยกิเลส ด้วยตัณหา ด้วยอุปทาน ด้วยราคะ ด้วยโทสะ ด้วยโมหะ ด้วยมานะ ด้วยมิจฉาทิฐิ เป็นไปเพื่อความพยาบาทเบียดเบียน สร้างเวรสร้างกรรม ไม่ประกอบด้วยธรรม ไม่ประกอบด้วยวินัย ไม่ประกอบด้วยกุศล ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่ประกอบด้วยบารมี ที่ข้าพเจ้าได้อธิษฐานไว้ สาปไว้ แช่งไว้ ในอดีตชาติก็ดี ปัจจุบันชาติก็ดี ระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี ทั้งหมดทั้งสิ้น
ข้าพเจ้าขออ้างเอาพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า แม่พระธรณี แม่พระคงคง แม่พระเพลิง แม่พระพาย และเทวดาทั้งหลายทั้งปวง มาเป็นพยาน ว่าข้าพเจ้าขอถอนคำอธิษฐานเหล่านั้น ถอนคำสาปเหล่านั้น ถอนคำแช่งเหล่านั้นร้อยหน พันหน หมื่นหน แสนหน ล้านหน โกฎิหน ณ กาลบัดนี้เทอญ

"นะถอน โมถอน พุทถอน ธาถอน ยะถอน
นะคลอน โมคลอน พุทคลอน ธาคลอน ยะคลอน
ถอนถ้วย นะโม พุทธายะ"

ข้าพเจ้าขอยกโทษ อโหสิกรรม และให้อภัยในความบกพร่อง ผิดพลาดของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งปวง ทุกชีิวิต ทุกจิตวิญญาน ในทุกที่สถาน ในกาลทุกเมื่อเทอญ
ขอบคุณที่มา : คอลัมภ์ กรรมกำหนด หนังสือชีวิตเป็นสุข